13 ร้านพรชัย หลวงปู่โต๊ะ วัดถ้ำสิงห์โตทอง 4

 พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดถ้ำสิงโตทอง 3

โทร 0983699890  Line ID vaya07 Facebook พรชัย เลาวะยานนท์
นายพรชัย เลาวะยานนท์
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซี เพชรเกษม2 พุทธมณฑล สาย3 บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 020 - 1 - 33934 - 0
ธนาคารกรุงไทย สาขาเพชรเกษม 77/2 หนองแขม บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 191 - 0 - 68235 -7
คลิกที่ ที่อยู่ดูสถานที่ตั้งร้านพรชัยศูนย์รวมแท้
✱พระทุกองค์ที่ระบุราคาไว้ในร้านออนไลน์นี้ ยังไม่คิดรวมราคาค่าบริการส่ง EMS อีก 50 บาท✱




ประวัติ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
               พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉิมพลี เป็นเถราจารย์ที่ผู้คนนับถืออย่างกว้างขวาง มีพระเครื่อง พระปิดตา เป็น วัตถุมงคลเอกของท่าน ด้วยวัตรอันปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจากเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย และหลวงปู่โต๊ะ  อินฺทสุวณฺโณ เป็นภิกษุที่อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสยาวนานถึง 68ปี
               หลวงปู่โต๊ะ 
 อินฺทสุวณฺโณ เกิดเมื่อวันที่ 27 เดือนมีนาคม พ.ศ.2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่โต๊ะ  อินฺทสุวณฺโณ ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้ว เหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี อยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17ปี
              พ.ศ.2447 เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ทั้งกับพระอธิการคำ และพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่16 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ.พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ
               หลวงปู่โต๊ะ 
 อินฺทสุวณฺโณ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมและเรียนพุทธาคม โดยฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาอาจารย์รูปสำคัญหลายรูป เช่น หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้นท่านเดินทางไปธุดงค์ ยังภาคเหนือและภาคใต้ ก่อนจะกลับมายัง วัดประดู่ฉิมพลี
              หลวงปู่โต๊ะ 
 อินฺทสุวณฺโณ ได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 และก่อนมรณภาพได้เพียง 7วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่5 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2524 คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา 9.55 นาฬิกา ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 93ปี 73พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รัชกาลที่9  ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ
               พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7วัน 50วัน 100วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พระราชทานเพลิงศพ ณ.เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส




ประวัติวัดถ้ำสิงโตทอง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
             พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉินพลี แขวงวัดท่าพระเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ท่านมีสถานที่บำเพ็ญธรรมของท่านอีก 2แห่ง คือที่สำนักสงฆ์ถ้ำสิงโตทองแห่งหนึ่ง และที่วัดพระธาตุสบฝาง ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งท่านไปสร้างกุฏิไว้อีกแห่งหนึ่ง ที่วัดพระธาตุสบฝาง ท่านไม่ค่อยได้ไปจึงจะไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงถ้ำสิงโตทองแต่เพียงแห่งเดียว
                เมื่อปี พ.ศ. 2519 ท่าน  (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)  ได้เดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี ได้ไปพบกับพระมานิตย์เข้า พระมานิตย์พูดกับท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ถึงถ้ำสิงโตทอง ที่ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และชวนท่าน  (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ให้ไปชม หลังจากนั้นท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ก็มีโอกาสได้ไป และไปเห็นว่าสถานที่นั้นเป็นที่สงบสมควรแก่นักปฏิบัติธรรม ทั้งอยู่ไม่ห่างไกลกรุงเทพมหานครมากนัก ท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) จึงไปอยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำสิงโตทองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2510 สำนักปฏิบัติธรรม คือได้สร้างกุฏิสำหรับท่านพักหลังหนึ่ง กุฏิเล็กอีกหลายหลัง ตามไหล่เขาข้างถ้ำสิงโตทอง พร้อมทั้งโรงครัวและที่พัก สำหรับลูกศิษย์ที่ประสงค์จะติดตามไปค้างแรมหาความสงบสุข อยู่กับท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปแบบและปางต่าง ๆ เช่น แบบพระพุทธชินราช พระปางลีลา ปางมารวิชัย กับรูปเจ้าแม่กวนอิม เชิญไปไว้ที่ถ้ำในบริเวณใกล้ ๆ กันนั้นขึ้นอีกหลายแห่ง ได้เชิญพระพุทธรูปที่ผู้มีศรัทธาสร้างถวาย ไปประดิษฐานไว้ให้สักการะกัน ครั้งหลังที่สุดท่านได้สร้างรูปพระมหากัจจายนะนำไปประดิษฐานไว้ที่หน้าถ้ำกลาง ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2519 พระมานิตย์ซึ่งรับหน้าที่ดูแลถ้ำสิงโตทองมรณภาพลง ท่านได้ส่งพระรูปอื่นไปดูแลแทน ได้มีผู้ศรัทธาถวายที่ดินเพิ่มให้อีก ท่านจึงวางโครงการก่อสร้างให้เพิ่มเติมอีก จะสร้างโบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนเด็กสำหรับลูกชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ขุดสระน้ำ พร้อมกับซื้อที่บริเวณหน้าถ้ำ เพิ่มเติมอีก 90ไร่เศษ รวมกับเนื้อที่เดิมเป็น 140ไร่ ทำถนนเชื่อมกับถนนส่วนใหญ่ ให้เป็นทางเข้าออกที่สะดวก องค์ท่าน (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ควบคุมดูแลการดำเนินงานนี้อย่างใกล้ชิด



ความคิดเห็น