15 ร้านพรชัย ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่ออิฏฐ์ - หลวงพ่อวัดไร่ขิง

 15 ท้าวเวสสุวรรณโณ หลวงพ่ออิฏฐ์  ภทฺจาโร

โทร 0983699890  Line ID vaya07 Facebook พรชัย เลาวะยานนท์
นายพรชัย เลาวะยานนท์
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซี เพชรเกษม2 พุทธมณฑล สาย3 บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 020 - 1 - 33934 - 0
ธนาคารกรุงไทย สาขาเพชรเกษม 77/2 หนองแขม บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 191 - 0 - 68235 -7
คลิกที่ ที่อยู่ดูสถานที่ตั้งร้านพรชัยศูนย์รวมแท้
✱พระทุกองค์ที่ระบุราคาไว้ในร้านออนไลน์นี้ ยังไม่คิดรวมราคาค่าบริการส่ง EMS อีก 50 บาท✱



ประวัติหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี
               หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺจาโร นาม พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ ฉายา ภทฺทจาโร สถานะเดิม ชื่อสมโภชน์ นามสกุล อมรรัตนบดี เกิด วันที่1 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2499 บิดาชื่อ นายพจน์ น้อยมา มารดาชื่อ นางประนอม ฮะประสาน เกิดที่บ้านเลขที่ 78 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บรรพชา วันที่14 มิถุนายน พ.ศ.2514 ณ วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อุปสมบท เมื่อวันที่17 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2520 ณ. วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นามพระอุปัชฌาย์ พระครูโกวิทสมุทรคุณ วัดจุฬามณี นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรบรรณวัฒน์ วัดเจริญสุขาราม พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสมุทรสารโสภณ วัดบางกะพ้อม
          วิทยฐานะ
               พ.ศ.2512 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 จากโรงเรียนเทศบาล1 วัดนางวัง พ.ศ.2521 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษา วัดจุฬามณี พ.ศ.2559 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มจร.การศึกษาพิเศษ มีความชำนาญ อ่าน – เขียน อักขระขอม-บาลีและความสามารถทางนวกรรม
         งานปกครอง
               พ.ศ.2532 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี พ.ศ.2533 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.2537 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองประธานสภาครูสอนปริยัติธรรมอำเภออัมพวา พ.ศ2561 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลอัมพวา เขต1
          สมณศักดิ์
                พ.ศ.2535 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระวิสุทธาธิบดี (ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานครที่ พระครูวินัยธรสมโภชน์ ภทฺทจาโร พ.ศ.2539 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (สุรเตโช) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ที่ พระครูปลัดกิตติมงคลวัฒน์ พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
                   
การศึกษาวิชาจากคณาจารย์
     1. หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร ยันต์นกคุ้มกันไฟ
    2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ยันต์ตรีนิสิงเห
    3. หลวงพ่อปึก วัดสวนหลวง สมุทรสงคราม เจิมเรือ
    4. หลวงปู่ขวัญ วัดโพธิดก ราชบุรี ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
    5. หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
    6. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคร
    7. หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม ไหม 5 สี,ตะกรุดโลกธาตุ
     8. หลวงพ่อพิน วัดอุบลวรรณาราม ราชบุรี เหรียญมหาปราบ,หนุมานเชิญธง
     9. หลวงพ่อพรหมวัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยานารายณ์แปลงรูป
    10. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา พระนครศรีอยุธยานะ ฉัพพัณนะรังษี
     11. หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงครามตะกรุดจันทร์เพ็ญ
     12. หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม เบี้ยแก้
     13. หลวงพ่อสุธรรม วัดเขาพระ เพชรบุรี นั่งสมาธิสายวัดปากน้ำภาษีเจริญ
     14. หลวงพ่อแผว วัดตะโหนดหลวง เพชรบุรี ลูกศร
     15. หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี ต่อกระดูก
     16. หลวงพ่อไห วัดบางทะลุ เพชรบุรี แหวนพิรอด
      17. โยมเหมือน อนันตรพีระ สมุทรสงคราม ใบมะนาวรักษาโรค
     18. โยมหมอเย็น คำแหง สมุทรสงคราม วิชาหลวงปู่บ่ายวัดช่องลม
     19. โยมวิทย์ จันหอม สมุทรสงคราม วิชาสายหลวงปู่อ่วมวัดไทรและหลวงปู่อยู่วัดน้อย
          ปัจจุบัน
             พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ.2532 จนถึงปัจจุบัน
        ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี เป็นที่แรกๆ เพราะตำนาน การสร้าง ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณีนั้นแตกต่างจากที่อื่น เนื่องด้วยพระอาจารย์อิฏฐ์ เจ้าอาวาสปัจจุบันของวัดฯ ได้ฝันเห็น ท้าวเวสสุวรรณ ในนิมิตนั้นองค์ท่านได้พาพระอาจารย์อิฏฐ์ไปเที่ยวชมยมโลกจนทั่ว พระอาจารย์อิฏฐ์จึงตั้งอธิษฐานเป็นสัจจะวาจาไว้ว่า ถ้ากลับไปในโลกมนุษย์ครั้งนี้จะทำการตั้งรูปปั้น ท้าวเวสสุวรรณ ไว้กลางวัดเสมือนเป็นการขอบคุณและการให้ความเคารพแก่ท่าน ในนิมิตพระอาจารย์อิฏฐ์ก็ ได้บอกความประสงค์นี้แก่ท่าน ท้าวเวสสุวรรณ ไป ท่านจึงบอกกลับมาว่า หากจะปั้นฉันจะต้องไปตามช่างปั้นท่านหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ต้องให้ช่างผู้นี้เป็นผู้ปั้นเท่านั้น และนั่นจึงกลายเป็นตำนานที่มา ที่ทำให้ “ท้าวเวสสุวรรณ แห่ง วัดจุฬามณี ได้รับแรงศรัทธาจากผู้คนล้นหลาม กลิ่นธูปควันเทียนและเสียงสวด คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ จากคนทั่วทุกสารทิศจึงมาอบอวลอยู่ที่วัดจุฬามณีแห่งนี้ทั้งกลางวันและกลางคืนที่มา วัดจุฬามณี

A1401 เหรียญท้าวเวสสุวรรณโณหลังพระปิดตาพังพระกาฬ เนื้อชนวน ลงยาสีส้ม สีดำ ตอกโค๊ต โค๊ตเลข1164 หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺจาโร พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ วัดจุฬามณี รุ่นเทวาประทานทรัพย์สินเจริญดี ปี2565 สมทบทุนสร้ามณฑปวัดมะม่วงตลอด  เลขที่93 หมู่ที่9 ถนนสมุทรสงคราม - บางแพ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โชว์ 

A1402 เหรียญท้าวเวสสุวรรณโณหลังพระปิดตาพังพระกาฬ เนื้ออ้าปาก้าซาติน ลงยาสีม่วง  ตอกโค๊ต โค๊ตเลข1248 หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺจาโร พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ วัดจุฬามณี รุ่นเทวาประทานทรัพย์สินเจริญดี ปี2565 สมทบทุนสร้ามณฑปวัดมะม่วงตลอด  เลขที่93 หมู่ที่9 ถนนสมุทรสงคราม - บางแพ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โชว์ 


ร้านพรชัยหลวงวัดไร่ขิง

หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง

     ประวัติวัดไร่ขิง
          **วัดไร่ขิง เป็นวัดสำคัญตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน (เรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก) มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่10 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533

          **คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ.2427 รวมสิริอายุ 91ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่9 เดือนเมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม10 ค่ำ เดือน5 ปีระกา พ.ศ.2428 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ. เมรุพิเศษวัดศาลาปูน ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูน รูปที่6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์ วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ.2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตร ก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ.2427 หรือ พ.ศ.2453 เป็นต้นมา
          **สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิง กันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า ไร่ขิง ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า วัดไร่ขิง
          **ในราวปี พ.ศ.2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหารนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดมงคลจินดาราม ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า ไร่ขิง ต่อท้ายคำว่า มงคลจินดาราม จึงต้องเขียนว่า วัดมงคลจินดาราม - ไร่ขิง แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า วัดไร่ขิง  สืบมาจนทุกวันนี้

     ประวัติหลวงพ่อวัดไร่ขิง

           **องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4ศอก 2นิ้วเศษ สูง 4ศอก 16นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี 5ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมาองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิง จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15ค่ำ เดือน5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีจึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติ ยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตรอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้นจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า มุขปาฐะ มีหลายตำนาน ดังนี้
          **ตำนานที่1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธาน มีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนวรวิหาร ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15ค่ำ เดือน 5วันสงกรานต์พอดี
          **ตำนานที่2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่3 ต้นปีในรัชการที่4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ พระธรรมราชานุวัตร ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร 
ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้าง วัดที่บ้านเกิดของตนที่ อำเภอไร่ขิง จังหวัดนครปฐม เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูป สำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ
          **ตำนานที่3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5องค์ ก็มี 3องค์ก็มีโดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5องค์นั้น ตรงกับคำว่า ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน  ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมากได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพานครั้งพระอริยบุคคลทั้ง 5องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5องค์ จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้
          **พระพุทธรูปองค์ที่1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร (เมืองแปดริ้ว) ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า หลวงพ่อโสธร
          **พระพุทธรูปองค์ที่2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ขึ้นสถิตที่ วัดไร่ขิง (เมืองนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง

          **พระพุทธรูปองค์ที่3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดบางพลี  ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5องค์ จึงเรียกว่า หลวงพ่อโต วัดบางพลี 
          **พระพุทธรูปองค์ที่4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม (เมืองแม่กลอง) ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่าหลวงพ่อวัดบ้านแหลม
          **พระพุทธรูปองค์ที่5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา (เมืองเพชรบุรี) ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เรียกว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
          **ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ 3องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า บางพระ พระพุทธรูป 3องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า สามประทวน หรือ สัมปทวน แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า บ้านลานตากฟ้า และ บ้านตากแดด ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ.วัดไร่ขิง (เมืองนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง  ส่วนองค์ที่2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่ วัดบ้านแหลม ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และองค์ที่3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา  (เมืองเพชรบุรี) ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม  เรียกว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
เขียนเมื่อวันที่1 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2564

โทร 0983699890 เบอร์ไลน์   Line ID vaya07 Facebook พรชัย เลาวะยานนท์
นายพรชัย เลาวะยานนท์
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซี เพชรเกษม2 พุทธมณฑลสาย3 ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 020 - 1 - 33934 - 0
ธนาคารกรุงไทย สาขาเพชรเกษม 77/2 หนองแขม บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 191 - 0 - 68235 - 7  
✱พระทุกองค์ที่ระบุราคาไว้ในร้านออนไลน์นี้ ยังไม่คิดรวมราคาค่าบริการส่ง EMS อีก 50 บาท✱

A401 เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อนวะโลหะ วัดไร่ขิง รุ่นมหามงคลเจดีย์ ปี2561 ตอกโค๊ตอุ หมายเลข123 พร้อมกล่องจากวัดไร่ขิงด้านในปูกำมะหยี่สีเหลือง (เมืองนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โชว์
รับประกันแท้ตลอดชีพ
          รายละเอียดการสร้าง เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นมหามงคลเจดีย์ ปี2561 ด้านหลังตอกโค้ดยันต์อุ เป็นเหรียญแห่งประวัติศาสตร์ด้วยมหาพุทธาภิเษก 2วาระ ณ.ลานหน้าพระอุโบสถหลวงพ่อวัดไร่ขิง
          วาระที่ 1 วันศุกร์ที่23 เดือนมีนาคม พ.ศ.2561
          วาระที่ 2 วันอังคารที่29 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 (วันวิสาขบูชา)
          พุทธลักษณะองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความพิเศษและเป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจกล่าวได้พอสังเขปคือ พระพักตร์และพระเศียรคล้ายรูปแบบศิลปะสมัยอยุธยา มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ที่พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ ส่วนพระวรกาย โดยส่วนใหญ่คล้ายรูปแบบศิลปะสมัยสุโขทัย มีความพิเศษที่พระหัตถ์ พระชงและพระบาท เส้นลายของจีวรและสังฆาฏิมีความเป็นเอกลักษณ์ ในการออกแบบนี้ผู้ออกแบบได้ศึกษาความงามจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของเครื่องทรงและลวดลายในรูปแบบศิลปะสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ โดยนำมาผสานให้เกิดความกลมกลืนกัน รูปทรงของเครื่องทรงแต่ละส่วนประกอบด้วย พระมหามกุฎ กรรเจียกจร กรองศอ ทับทรวง พระสังวาล เฟื่องข้าง ปั้นเหน่ง รัดพระองค์ ตาบทิศ กนกเหน็บ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท กนกหุ้มพระชง เป็นต้น รูปทรงแต่ละส่วน จะประกอบรวมกันตามแบบแผนของศิลปะสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ และในส่วนรายละเอียดที่เป็นลวดลายภายในแต่ละชิ้นส่วน จะปรากฏลวดลายที่มีคตินิยมในรูปแบบศิลปะสมัยต่างๆ เช่น มหามงกุฎ แบบเกี้ยวสามชั้นที่เป็นคตินิยมแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ แต่สอดแทรกชั้นขอบกระบังหน้าแบบมงกุฎเทริดและกระจังทิศแบบศิลปะอยุธยา ลายกนกหุ้มพระชง เป็นลายกนกเศียรพญานาค สื่อถึงตำนานและความสัมพันธ์ขององค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงกับสายน้ำ หรือแม่น้ำนครชัยศรีและมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแห่งนี้ ลวดลายที่เลือกใช้มีกระจายแทรกอยู่ทั่วไปในองค์ประกอบของเครื่องทรงทั้งหมด คือลายกลีบบัวและดอกบัวอันเป็นคตินิยมในรูปแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งรูปดอกบัวมีความหมายเป็นมงคลยิ่ง รวมถึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี ความงามทั้งปวง
     การจัดสร้างโดยสังเขป
         เมื่อวันที่23 เดือนมีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 15.09 นาฬิกา ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดไร่ขิง พระอารามหลวง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญฺโญ) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ รุ่น ประวัติศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยพระเทพศาสนาภิบาล (หลวงพ่อแย้ม) รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ แขกผู้มีเกียรติและประชาชนจำนวนมากร่วมในพิธี พระเทพศาสนาภิบาล กล่าวว่า คติการสร้างและแนวความคิดในการออกแบบพระพุทธรูป หลวงพ่อวัดไร่ขิง ทรงเครื่องนั้น ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ศิลปะอินเดีย อย่างน้อยในสมัยปาละช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 -
ช่วงพุทธศตวรรษที่17 และยังมีปรากฏต่อเนื่องมาในศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ศิลปะล้านนา ศิลปะอยุธยา จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีคติในการสร้างที่แตกต่างกันอยู่หลายแนวความคิดของพุทธศาสนา ทั้งลัทธิมหายานและลัทธิเถรวาท อย่างไรก็ตาม จากแนวความคิดในการสร้างที่มีมาแล้วนั้น นับว่าเป็นกุศลเจตนาที่จะยกย่องเชิดชูพระบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้อย่างสูงส่ง อันแสดงถึงความวิจิตรงดงามและยิ่งใหญ่อย่างพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้บรรจงสร้างและส่งต่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่เราในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ออกแบบเครื่องทรงถวายองค์พุทธปฏิมาหลวงพ่อวัดไร่ขิงจึงมีแนวความคิดด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง อันเป็นนิมิตหมายที่จะสร้างพุทธศิลป์ในแนวทางสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการค้นหาสัจจะ ความดี ความงาม และความหมายแห่งชีวิต พระเทพศาสนาภิบาล กล่าวต่อไปว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอันประเสริฐเพื่อดับกิเลสและกองทุกข์ สมควรที่เราควรบูชาคุณอันประเสริฐของพุทธองค์ทั้งสามประการคือ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิ์คุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ดังนั้น ในการสร้างพระพุทธปฏิมาหลวงพ่อวัดไร่ขิงทรงเครื่องมหาจักรพรรดิในครั้งนี้ จึงเป็นการบูชาคุณพระพุทธองค์ประการหนึ่ง ที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนาทั้งในด้านประวัติศาสตร์และหลักพุทธธรรม เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบต่อไป

A402 เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อเงิน วัดไร่ขิง รุ่นพิเศษ  ปี2561 ตอกโค๊ตพิมพ์กรรมการ หมายเลข192 พร้อมกล่องจากวัดไร่ด้านนอกผ้าสักหลาดสีน้เงิน ด้านในปูกำมะหยี่สีน้ำเงิน (เมืองนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โชว์
รับประกันแท้ตลอดชีพ


ความคิดเห็น